บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งซึ่งใช้แบตเตอรี่ในการทำงานเพื่อสร้างความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารต่าง ๆ เช่น สารนิโคติน บุหรี่ไฟฟ้า (Nicotine) โพรไพลีนไกลคอล (Propylene Glycol) กลีเซอรีน (Glycerine) สารแต่งกลิ่นและรส (Flavoring) และน้ำ เมื่อเปิดเครื่องจะมีไฟสีแดงขึ้นพร้อมกับ การทำงานบุหรี่ไฟฟ้า ของแบตเตอรี่ เกิดความร้อนทำให้น้ำยาที่บรรจุอยู่ภายในระเหยขึ้นมาเป็นควัน เมื่อสูบเข้าไปในปอดร่างกายจะได้รับนิโคตินก่อนที่จะถูกพ่นออกมา ไม่มีควันจากการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป บุหรี่ไฟฟ้าจึงไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

ใครที่ใช้ บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร

บุหรี่ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยม

และมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นทั้งผู้ที่เคยสูบบุหรี่แบบปกติทั่วไป และผู้ที่เริ่มต้นหรือทดลองสูบบุหรี่ จากสถิติการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน (National Youth Tobacco Survey) จากจำนวนนักเรียน 2 ล้านคน ในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2557 พบว่า ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปลายมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 4.5 เป็นร้อยละ 13 และในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมต้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.1 เป็นร้อยละ 3.9 เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวภายใน 1 ปี ในประเทศไทยยังไม่มีการอนุญาตให้จำหน่ายหรือนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า มีเพียงการลักลอบจำหน่ายในตลาดมืดจึงทำให้ยากต่อการเก็บข้อมูลทางสถิติ

คนอีกกลุ่มที่พบว่าใช้บุหรี่ไฟฟ้าคือ ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ จากกลุ่มตัวอย่างชาวอเมริกันในรัฐแคลิฟอร์เนียจำนวน 1,000 คนที่มีพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันเป็นเวลา 1 ปี พบว่าร้อยละ 60 มีแนวโน้มที่จะเลิกสูบบุหรี่และลดปริมาณในการสูบ แต่ Dr. Wael Al-Delaimy อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัวและสาธารณสุข คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องการใช้บุหรี่ไฟฟ้าสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ไว้ว่า จากการวิจัย การใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจจะไม่ได้ช่วยให้เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้ หนึ่งในตัวแปรสำคัญคือปริมาณนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นสารเสพติดให้โทษเช่นเดียวกันกับที่พบในบุหรี่ปกติทั่วไป และเรื่องนี้ยังจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานการผลิตที่เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน จึงทำให้ยากที่จะตอบได้ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง โดยทั่วไปมีลักษณะคล้ายบุหรี่ปกติทั่วไป หรืออาจดัดแปลงให้มีลักษณะต่างออกไป ซึ่งส่วนประกอบหลักของบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่ (Battery) ตัวที่ทำให้เกิดไอและความร้อน (Atomizer) และตลับเก็บน้ำยา (Cartridge)

บุหรี่ไฟฟ้าจะทำงานได้ไม่เต็มรูปแบบถ้าขาดน้ำยาสำหรับบุหรี่ไฟฟ้า (E-Liquid หรือ E-Juice) ซึ่งบรรจุอยู่ในตลับเก็บน้ำยาเพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการทำความร้อนก่อนกลายเป็นไอที่ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าสูบเข้าไปในปอด ส่วนผสมที่พบมากในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice มีดังนี้

นิโคติน (Nicotine) เป็นสารสกัดจากใบยาสูบและเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่พบได้ในทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ปกติทั่วไป นิโคตินจะทำให้ร่างกายเสพติดการใช้บุหรี่ และจะเข้าไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดและโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้ ระดับนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ เปอร์เซ็นต์ มิลลิกรัม และระดับความเข้มข้น ได้แก่ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ
โพรไพลีนไกลคอล (Propylene Glycol) เป็นสารสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหาร ยา และเครื่องสำอาง รวมถึงนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างไอหรือหมอกสำหรับเวทีการแสดงต่าง ๆ แต่เมื่อสัมผัสหรือสูดดมเข้าไปอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองที่ดวงตาและปอดได้ โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง
กลีเซอรีน (Glycerine) เป็นสารที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น แต่มีรสชาติหวานเล็กน้อย องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหารและยา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย เช่นเดียวกันกับโพรไพลีนไกลคอล
สารแต่งกลิ่นและรส (Flavoring) เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารทั่วไป มีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น สารไดอะซิติล (Diacetyl) ที่พบมากในเนยสำหรับทำป็อปคอร์น อาจเป็นสาเหตุของปัญหาระบบทางเดินหายใจและปอด
ประเภทของบุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร
บุหรี่ไฟฟ้าในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ แต่แบ่งได้ 3 รูปแบบคือ แบบที่ 1 (Cigalike) แบบที่ 2 (eGos) และแบบที่ 3 (Mods) โดยมีรายละเอียดดังนี้

บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบที่ 1 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Cigalike มีรูปลักษณ์ภายนอก ทั้งรูปทรงและขนาดที่คล้ายกับบุหรี่ปกติทั่วไป แต่จะมีตัวที่ทำให้เกิดไอและความร้อนเพิ่มเข้ามา
บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบที่ 2 หรือที่รู้จักกันในชื่อ eGos มีลักษณะคล้ายบุหรี่ปกติทั่วไปเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า หรือมีรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป และมีตัวถังที่สามารถถอดออก และเติม E-Liquid หรือ E-Juice ที่มีระดับนิโคติน หรือรสและกลิ่นต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง
บุหรี่ไฟฟ้ารูปแบบที่ 3 หรือที่รู้จักกันในชื่อ Mods มีลักษณะคล้ายบุหรี่ไฟฟ้าแบบ eGos แต่มีขนาดใหญ่กว่า และสามารถปรับแรงดันไฟฟ้า ขนาดของตัวที่ทำให้เกิดไอและความร้อน รวมถึงขนาดและปริมาณของ E-Liquid หรือ E-Juice ได้ตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ข้อดีของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร
บุหรี่ไฟฟ้ามีข้อดีที่แตกต่างจากการใช้บุหรี่ปกติทั่วไป เช่น บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีควันจากการเผาไหม้เหมือนในบุหรี่ปกติทั่วไป ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนประกอบของน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) หรือสารพิษอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองแตก และโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ ยังตรวจพบสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระดับที่ต่ำกว่าบุหรี่ปกติทั่วไปอีกด้วย

กระทรวงสาธารณสุข ประเทศอังกฤษได้เปิดเผยหลักฐานเกี่ยวกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าว่ามีความปลอดภัยมากกว่าการใช้บุหรี่ปกติทั่วไปสูงถึง 95% และมีประสิทธิภาพในการช่วยให้เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่ได้ สาเหตุสำคัญคือในบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีส่วนประกอบของใบยาสูบ มีเพียงนิโคตินที่เป็นสารเสพติดแต่ให้โทษน้อยกว่าใบยาสูบ ทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ที่เสพติดนิโคติน

องค์การอาหารและยาพบร่องรอยของสารพิษ 0.1% ในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice เช่น สารไนโตรซามีน (Nitrosamines) และสารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง และก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย เช่น ปากแห้ง ระคายเคืองในลำคอ ไอแห้ง เป็นต้น

แต่ยังไม่มีหลักฐานทางการวิจัยที่สรุปอย่างชัดเจนว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้จริง และในหลายประเทศการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าถือว่าผิดกฎหมาย รวมถึงประเทศไทยด้วย

ข้อเสียของการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
ใบยาสูบคือสิ่งที่ทำให้บุหรี่ปกติทั่วไปแตกต่างจากบุหรี่ไฟฟ้า แต่นิโคตินยังคงเป็นส่วนประกอบหลักในบุหรี่ไฟฟ้าและเป็นสารเสพติดที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น กระตุ้นสมอง ทำให้เกิดอาการมึนงง กระตุ้นหัวใจทำให้อัตราการทำงานของหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจทำงานหนัก เกิดภาวะหัวใจวาย ทำให้เส้นเลือดหดตัวซึ่งส่งผลให้เกิดความดันในเลือดสูงขึ้น เส้นเลือดในสมองแตก ปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ หายใจเร็ว เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด มีความผิดปกติทางอารมณ์ สมาธิและความคิด ปัญหาของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เป็นต้น เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่ถึง 10 ปี แพทย์จึงยังไม่ทราบผลเสียหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายในระยะยาว บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร

นักวิจัยโรงเรียนสาธารณสุข Johns Hopkins Bloomberg ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่าในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice ที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้า มีโลหะหนัก ได้แก่ นิกเกิล ตะกั่ว แมงกานีส โครเมียม และแคดเมียม และสารพิษที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งในระดับสูง จึงทำให้องค์การอาหารและยา (FDA) ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตรวจสอบโดยเรียกร้องให้บริษัทที่ผลิตบุหรี่ไฟฟ้าส่งรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนผสมที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

นักวิจัยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย รัฐลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทดลองในห้องปฏิบัติการและพบว่าร้อยละ 85 ในไอหรือหมอกจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีสารพิษที่ไปทำลายเซลล์ในปาก โดยเฉพาะในผิวชั้นบนสุด รวมไปถึงเหงือกและฟัน

อาจารย์มหาวิทยาลัยนอร์ทดาโคตา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการได้รับปริมาณนิโคตินที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจากการติดฉลากผิดบนบรรจุภัณฑ์น้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice ที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้า จากการสำรวจพบว่าปริมาณนิโคตินในน้ำยา E-Liquid หรือ E-Juice กับปริมาณที่ระบุบนฉลากไม่ตรงกัน คิดเป็นร้อยละ 51 ซึ่งร้อยละ 34 มีปริมาณนิโคตินต่ำกว่าที่ระบุบนฉลากและร้อยละ 17 มีปริมาณนิโคตินสูงกว่าที่ระบุบนฉลาก

นักศึกษาภาควิชาเซลล์ชีววิทยาและสรีรวิทยา มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับระบบการทำงานของเซลล์ในปอดที่ลดลง เนื่องจากมาตรฐานการผลิต น้ำยา บุหรี่ไฟฟ้า หรือ E-Juice ที่ใช้ในบุหรี่ไฟฟ้ายังไม่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตเดียวกันกับที่องค์การอาหารและยา (FDA) กำหนด

จากข้อมูลในปัจจุบัน การใช้บุหรี่ไฟฟ้าแตกต่างจากการใช้บุหรี่ปกติทั่วไปคือ ไม่พบสารเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้เข้าสู่ร่างกาย แต่การใช้บุหรี่ไฟฟ้าอาจมีอันตรายมาก หากอุปกรณ์ที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าได้รับปริมาณนิโคตินเกินขนาด หรือมีการผสมสารเสพติดชนิดอื่นร่วมกับนิโคตินเหลว หรือเป็นช่องทางการใช้สารเสพติดชนิดอื่นเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงสารปรุงแต่งอื่น ๆ ที่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือมาตรฐานการผลิต อันตรายที่อาจเป็นไปได้อีกข้อคือ นิโคตินเหลวในบรรจุภัณฑ์หากเก็บรักษาไม่ถูกต้องหรือเก็บไว้นานอาจมีเชื้อราหรือเชื้อโรคก่อตัวขึ้น ทำให้ผู้สูบได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายในขณะใช้บุหรี่ไฟฟ้า และเยาวชนที่ไม่เคยสูบบุหรี่อาจเริ่มต้นทดลองด้วยการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ทำให้เสพติดนิโคตินเหลว และอาจนำไปสู่การสูบบุหรี่ปกติทั่วไปในอนาคต

การระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร

ข่าวการระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้า ปรากฏเพิ่มขึ้นตามสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ  โดยเจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาออกมาเปิดเผยเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้าในปี 2558 ว่ามีจำนวนมากถึง 56 ครั้ง โดยมีตัวอย่างเหตุการณ์ที่เด็กหญิงคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บจากการระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้า ในขณะที่นั่งอยู่ข้าง ๆ ผู้สูบที่สวนสนุกในรัฐฟลอริด้า รวมไปถึงการระเบิดของบุหรี่ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นระหว่างชาร์จไฟในรถยนต์และระเบิดขึ้นหลังมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

บุหรี่ไฟฟ้าทำงานโดยอาศัยแบตเตอรี่ที่มีส่วนประกอบของลิเทียม (Lithium) ที่อยู่ในตัวอุปกรณ์ ซึ่งบรรจุอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับของเหลวซึ่งติดไฟได้ นั่นคือน้ำยาสำหรับบุหรี่ไฟฟ้า รวมไปถึงจำนวนวัตต์ที่ใช้ ชนิดของแบตเตอร์รี่ แรงดันไฟฟ้า การเก็บอุปกรณ์ไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง และการนำตัวอุปกรณ์และแบตเตอรี่สัมผัสกับโลหะ เช่น เหรียญ กุญแจ หรือเครื่องประดับ นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงต่อการระเบิดในบุหรี่ไฟฟ้าได้เช่นกัน

บุหรี่ไฟฟ้ากับกฏหมายประเทศไทย บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร
ในปัจจุบัน บุหรี่ไฟฟ้ายังไม่สามารถซื้อขายกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายประเทศไทย มีการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายผ่านตลาดมืดหรือหรือทางอินเทอร์เน็ต โดยประกาศ กฎหมาย และความผิดที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีรายละเอียดดังนี้

ห้ามส่งออกหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2557 หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ

ห้ามขายหรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวกับการห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า

ผู้ขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ผลิตหรือสั่งนำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ให้บริการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากมีการฝ่าฝืนจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *